ประวัติเมืองชล
จังหวัดชลบุรี เป็นดินแดนที่ปรากฎขึ้นมาในหน้าประวัติศาสตร์
ตั้งแต่สมัยทวารวดี ขอม และสุโขทัย แต่เดิมเป็นเพียงเมือง เป็นเพียง
เมืองเกษตรกรรม และชุมชนประมงเล็ก ๆ หลายเมืองกระจัดกระจายกันอยู่
ห่าง ๆ โดยในทำเนียบศักดินาหัวเมืองสมัยอยุธยากำหนดให้ชลบุรีเป็นเมือง
ชั้นจัตวา ส่วนแผนที่ไตรภูมิก็มีชื่อตำบลสำคัญของชลบุรีปรากฎอยู่ เรียง
จากเหนือลงใต้ คือ เมืองบางทราย เมืองบางปลาสร้อย เมืองบางพระเรือ
(ปัจจุบันคือบางพระ) และเมืองบางละมุง แม้ว่าจะเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ
แต่ก็อุดมไปด้วยทรัพยาการทั้งบนบกและในทะเล มีการทำไร่ทำนาทำสวน
และออกทะเลมาแต่เดิม นอกจากนี้ยังมีการติดต่อกับชาวจีนที่ล่องเรือสำเภา
เข้ามาค้าขายกับกรุงสยามด้วย
ดินแดนที่เรียกว่า "จังหวัดชลบุรี" มีผู้คนอาศัยอยู่มาตั้งแต่สมัยก่อน
ประวัติศาสตร์แล้ว คือสามารถย้อนไปได้จนถึงยุคหินขัด เช่น บริเวณที่ลุ่ม
ริมฝั่งแม่น้ำพานทองเคยมีมนุษย์ยุคหินใหม่อาศัยอยู่ โดยชนกลุ่มนี้นิยมใช้
ขวานหินขัดเพื่อการเก็บหาล่าไล่ รวมถึงใช้ลูกปัดและกำไล ภาชนะเครื่อง
ปั้นดินเผา ซึ่งมีลายที่เกิดจากการใช้เชือกทาบลงไปขณะดินยังไม่แห้ง
นอกจากนี้ยังพบเศษอาหารทะเลพวกหอย ปู และปลาอีกด้วย เมื่อปีพ.ศ.
2522 ได้มีการขุดสำรวจที่ตำบลพนมดี อำเภอพนัสนิคม พบร่องรอยของ
ชุมชนโบราณก่อนประวัติศาสตร์โคกพนมดี ทำให้สันนิษฐานได้ว่า ภายใน
เนื้อที่ 4,363 ตารางกิโลเมตร ของชลบุรีอดีตเคยเป็นที่ตั้งเมืองโบราณที่
มีความรุ่งเรืองถึง 3 เมือง ได้แก่ เมืองพระรถ เมืองศรีพโล และเมืองพญาแร่
โดยอาณาเขตของ 3 เมืองนี้รวมกันเป็นจังหวัดชลบุรีในปัจจุบัน
สรุปความเป็นมาของจังหวัดชลบุรี
1.ยุคก่อนกรุงศรีอยุธยาพื้นที่ซึ่งปัจจุบันเป็นจังหวัดชลบุรีมีเมืองศรีพโล
และเมืองพระรถตั้งอยู่แล้วโดยทุกวันนี้ยังมีหลักฐานความเป็นเมืองบางอย่าง
ปรากฎชัดอยู่
2.ยุกกรุงศรีอยุธยา เมืองศรีพโลและเมืองพระรถอาจเสื่อมไปแล้ว และ
มีชุมชนที่รวมกันอยู่หลายจุด ในลักษณะเป็นบ้านเมือง อาทิ บางทราย
บางปลาสร้อย บางพระเรือ บางละมุง ฯลฯ
3.ยุคกรุงรัตนโกสินทร์ แบ่งเป็น 3 ช่วงย่อย ๆ ได้แก่
Ø ช่วงแรก (ก่อน พ.ศ.2440 หรือ ร.ศ.115) ช่วงนี้จังหวัดชลบุรี
ยังไม่เกิดขึ้น แต่ได้มีเมืองต่าง ๆ ในพื้นที่เกิดขึ้นแล้วคือ เมืองบางปลาสร้อย
เมืองพนัสนิคม และเมืองบางละมุง
Ø ช่วงสอง (หลัง พ.ศ.2440-2475) ขณะนั้นคำว่า "จังหวัด" มี
ใช้แห่งเดียวในราชอาณาจักร คือ จังหวัดกรุงเทพมหานคร เข้าใจว่าคำว่า
"เมืองชลบุรี" มีชื่อเรียกในช่วงนี้โดยมีอำเภอเมืองบางปลาสร้อย (ที่ตั้งตัว
เมือง) อำเภอพานทอง อำเภอบางละมุง และอำเภอพนัสนิคม อยู่ในเขต
การปกครองระยะต้นต่อมาในระยะหลังปี พ.ศ. 2460 จึงมีอำเภอศรีราชา
และอำเภออื่น ๆ เกิดขึ้นรวมกันอยู่ในเขตเมืองชลบุรี
Ø ช่วงสาม (ตั้งแต่ พ.ศ.2475 จนถึงปัจจุบัน) มีการเปลี่ยนแปลง
รูปการปกครองประเทศครั้งใหญ่ จากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นระบอบ
ประชาธิปไตย โดยพระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักร
สยาม พ.ศ. 2476 ได้ยกเลิกเขตการปกครองแบบ "เมือง" ทั่วราชอาณา
จักรแล้วตั้งขึ้นเป็น "จังหวัด" แทน โดยมีข้าหลวงประจำจังหวัดชลบุรีเป็น
ผู้ปกครองบังคับบัญชา เมืองชลบุรีจึงกลายเป็นจังหวัดชลบุรีและเปลี่ยน
ข้าหลวงประจำจังหวัดเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด
จังหวัดชลบุรี เรียกกันสั้น ๆ ว่า "เมืองชล" เป็นจังหวัดท่องเที่ยวชายทะเล
ตะวันออกที่มีชื่อเสียงมาช้านาน เป็นแหล่งเกษตรกรรมปลูกพืชเศรษฐกิจ
ได้แก่ อ้อย มันสำปะหลัง และยางพารา รวมทั้งเป็นที่ตั้งท่าเรือน้ำลึกแหลม-
ฉบัง และแหล่งอุตสาหกรรมโรงงานที่สำคัญ
ตามประวัติปรากฏหลักฐานว่า เมืองชลบุรีมีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
เดิมเป็นเมืองเล็ก ๆ หลายเมือง ได้แก่ เมืองบางทราย เมืองบางปลาสร้อย
และเมืองบางพระ ต่อมาในสมัยรัชการที่ 5 ได้รวบรวมเมืองดังกล่าวเข้าด้วย
กันเป็นจังหวัดชลบุรี
วิสัยทัศน์จังหวัด
"ชลบุรีน่าอยู่ คู่เศรษฐกิจชั้นนำ"
ค่านิยมจังหวัด
"ซื่อสัตย์ สุจริต มุ่งสัมฤทธิ์งาน สืบสานประเพณี มีคุณธรรม จริยธรรม
น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง"
คำขวัญประจำจังหวัด
"ทะเลงาม ข้าวหลามอร่อย อ้อยหวาน จักสานดี ประเพณีวิ่งควาย"
ตราจังหวัดชลบุรีเป็นรูปภูเขาอยู่ริมทะเล แสดงถึงสัญลักษณ์สำคัญ
2 ประการของจังหวัด คือ "ทะเล" หมายถึงความเป็นเมืองชายทะเลที่
อุดมสมบูรณ์ และ "รูปภูเขาอยู่ริมทะล" หมายถึง เขาสามมุข อันเป็น
ที่ตั้งของศาลเจ้าแม่สามมุขอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพของชาวชลบุรีตลอด
จนประชาชนทั่วไปซึ่งต่างมีความเชื่อตรงกันว่าศาลเจ้าแม่สามมุขสามารถ
ดลบันดาลให้ความคุ้มครองผู้ที่มาเคารพกราบไหว้ให้พ้นจากภยันตรายต่างๆ
ได้ โดยเฉพาะการออกไปประกอบอาชีพจับปลาในท้องทะเล เขาสามมุข
จึงกลายเป็นปูชนียสถานและสัญลักษณ์สำคัญยิ่งแห่งหนึ่งของชาวชลบุรีมา
โดยตลอด
ดอกไม้ประจำจังหวัด
คือ ประดู่ป่า ชื่อวิทยาศาสตร์ Pterocarpus macrocarpus Kurz
พรรณไม้ชนิดนี้จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (Papilionoideae) เป็นไม้ยืนต้นขนาด
ใหญ่สูง 15-25 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลดำแตกเป็นสะเก็ด แผ่นใบประกอบ
แบบขนนกเรียงสลับ มีดอกระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน โดยลักษณะดอก
ออกเป็นช่อที่ซอกใบ กลีบดอกสีเหลืองอ่อน และมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ สำหรับ
การนำไปใช้ประโยชน์ เช่น เนื้อไม้ใช้ปลูกสร้างอาคารบ้านเรือน แก่นให้
สีแดงคล้ำใช้ย้อมผ้า เปลือกให้น้ำฝาดชนิดหนึ่งใช้ย้อมผ้าได้ดี ใบผสมกับ
น้ำใช้สระผม และประโยชน์ในทางสมุนไพร คือ แก่นมีรสขมฝาดร้อน ใช้
บำรุงโลหิต แก้กระษัย แก้คุดทะราด แก้ผื่นคัน และขับปัสสาวะพิการ
ที่ตั้งและอาณาเขต
จังหวัดชลบุรี มีพื้นที่ทั้งสิ้น 2,726,875 ไร่ (4,363 ตารางกิโลเมตร)
คิดเป็นร้อยละ 0.85 ของพื้นที่ประเทศไทย (พื้นที่ของประเทศไทยประมาณ
320,696,875 ไร่ หรือ 513,115 ตารางกิโลเมตร
ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดฉะเชิงเทราและจังหวัดสมุทรปราการ
ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดระยอง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดจันทบุรี
และจังหวัดระยอง
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ชายฝั่งทะเลตะวันออกของอ่าวไทย
เขตการปกครอง
เมืองชลบุรีอยู่ห่างจากกรุงเทพฯประมาณ 80 กิโลเมตร มีเนื้อที่
ทั้งสิ้นประมาณ 4,363 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 11
อำเภอ คือ อำเภอเมืองชลบุรี หนองใหญ่ พนัสนิคม บ้านบึง พานทอง
บ่อทอง ศรีราชา บางละมุง สัตหีบ เกาะสีชัง และอำเภอเกาะจันทร์
การเดินทาง
รถยนต์ส่วนตัว
จากกรุงเทพฯ สามารถเดินทางไปจังหวัดชลบุรีได้หลายเส้นทางคือ
Ø ใช้เส้นทางบางนา-ตราด ทางหลวงหมายเลข 34 เข้าสู่จังหวัด
ชลบุรี
Ø ใช้เส้นทางสายกรุงเทพฯ-มีนบุรี ทางหลวงหมายเลข 304 ผ่าน
จังหวัดฉะเชิงเทรา-บางปะกง เข้าสู่จังหวัดชลบุรี
Ø ใช้เส้นทางสายเก่า ถนนสุขุมวิท ทางหลวงหมายเลข 3 ผ่าน
จังหวัดสมุทรปราการ ไปจนถึงแยกอำเภอบางปะกงและให้แยกเข้าสู่เส้นทาง
หมายเลข 34 ไปจนถึงจังหวัดชลบุรี
|
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทของคุกกี้ที่เราจัดเก็บ เหตุผลในการใช้คุกกี้ และวิธีการตั้งค่าคุกกี้ได้ใน นโยบายคุกกี้ และ คำแถลงว่าด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล